โพรไบโอติกส์เป็นจุลินทรีย์ชนิดดี ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายเราในหลาย ๆ ด้านซึ่งอาศัยอยู่ใน กระเพาะปัสสาวะ และช่องคลอด โดยมีจุลินทรีย์ที่คอยปรับสภาพความสมดุลให้กับอวัยวะต่าง ๆ ได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อใดก็ตามที่จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ขาดความสมดุลไม่สามารถต่อสู้ป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ จุลินทรีย์ชนิดไม่ดีจะเข้ามามีบทบาทในการสร้างความเจ็บป่วย นำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บ และส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ อย่างแน่นอน
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ร่างกายของเราต้องการโพรไบโอติกส์ตอนไหน?
ไม่ยากค่ะ เพราะเราสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ จากอาการผิดปกติ หรืออาการเจ็บป่วยในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเราซึ่งจะปรากฏภายหลังจากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ลดจำนวนลง จนจุลินทรีย์ที่ไม่มีประโยชน์เข้ามาแทนที่
อาการที่แสดงว่าร่างกายต้องการโพรไบโอติกส์
อาการเจ็บป่วยที่แสดงออกมาให้เห็นจะเกี่ยวข้องกับอวัยวะที่เป็นแหล่งอาศัยของโพรไบโอติกส์ ยกตัวอย่างเช่น
- ฟันผุ มีกลิ่นปาก
- ลำไส้แปรปรวน
- กรดไหลย้อน
- ท้องผูก
- ท้องร่วงจากการติดเชื้อ ท้องร่วงจากการรับประทานยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน
- ผื่นแพ้ผิวหนัง ภูมิแพ้อากาศ
- ผิวหนังอักเสบ มีริ้วรอย ขาดความชุ่มชื้น
- ติดเชื้อในช่องคลอด ช่องคลอดแห้งหลังหมดประจำเดือน
- ติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ
- ไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์
- ภาวะอ้วน
อาการของโรคและความเจ็บป่วยเหล่านี้ มีการยืนยันทางการการแพทย์แล้วว่า ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับความไม่สมดุลระหว่างจุลินทรีย์ชนิดดี และจุลินทรีย์ชนิดไม่ดี ที่มีจำนวนไม่บาลานซ์กัน ซึ่งเหตุสำคัญที่ส่งผลต่อความไม่สมดุลของโพรไบโอติกส์ในร่างกายเราก็ไม่ได้มาจากใครที่ไหน แต่เกิดมาจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของเราที่เปลี่ยนแปลง เช่น
- ขาดการออกกำลังกาย
- ความเครียด
- สุขอนามัย เพศสัมพันธุ์
- การใช้ยาปฏิชีวนะติดต่อกันเป็นเวลานาน
- พักผ่อนนอนหลับไม่เพียงพอ
- บริโภคอาหาร เช่น น้ำตาล ข้าวขัดสี อาหารที่มีเส้นใยต่ำ
- ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่
- อายุที่มากขึ้น

แล้วจะเติมโพรไบโอติกส์ให้ร่างกายของเราได้อย่างไร?
การเติมโพรไบโอติกส์หรือจุลินทรีย์ชนิดดีเข้าสู่ร่างกาย จึงน่าจะเป็นทางออกของปัญหาสุขภาพในระยะยาว และต้องไม่ลืมว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้สุขภาพของเราสมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งมีวิธีง่าย ๆ ดังนี้
- รับประทานอาหารที่เป็นแหล่งโพรไบโอติก เช่น โยเกริ์ต นมเปรี้ยว กิมจิ มิโซะ ชาหมัก
- รับประทานผักผลไม้ อาหารเส้นใยสูง
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- นอนหลับผักผ่อนให้เพียงพอ
- ลดความเครียด
- งดเว้นการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่
จะเห็นได้ว่าการรับประทานอาหารที่มีโพรไบโอติกส์เพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอต่อการสร้างสมดุลในร่างกาย การดูแลสุขภาพก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำควบคู่กันไป ทำเพียงเท่านี้ จุลินทรีย์ดีก็ไม่หนีไปไหนแล้วค่ะ
สุขภาพดีเริ่มต้นที่ทางเดินอาหารนะคะ
Berlin GI Life