ปัญหาสุขภาพใกล้ตัวอย่างเช่น โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เป็นอาการของโรคที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน และอาจจะเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย และในบทความนี้ Berling GI Life จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับตัวช่วยที่จะทำให้ระบบทางเดินอาหารของเรา กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้ง นั่นก็คือ โพรไบโอติกส์ค่ะ
โพรไบโอติกส์กับระบบทางเดินอาหาร
โพรไบโอติกส์ที่อยู่ในร่างกายเราเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ รวมทั้งตับและตับอ่อนด้วย ซึ่งภายในทางเดินอาหารของคนเราจะมีทั้งจุลินทรีย์และแบคทีเรียที่มีประโยชน์และมีโทษต่อร่างกายอาศัยอยู่ปะปนกัน เมื่อใดก็ตามที่เกิดความไม่สมดุลระหว่างจุลินทรีย์และแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหารของเรา ก็จะก่อเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ตามมาโดยเฉพาะโรคที่เกิดกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย ท้องผูก ขับถ่ายยาก จนถึงขั้นเป็นโรคร้ายแรง เช่น มะเร็งลำไส้
ประโยชน์ของโพรไบโอติกส์กับการป้องกันรักษาภาวะลำไส้อักเสบ
ปัจจุบันโพรไบโอติกส์ได้รับการยอมรับทางการแพทย์ว่ามีส่วนสำคัญในการป้องกันและรักษาภาวะลำไส้อักเสบ ไม่ว่าจะเป็นท้องเสีย ลำไส้อักเสบจากยาปฏิชีวนะ ลำไส้แปรปรวน และท้องผูกเรื้อรัง
นอกจากนี้โพรไบโอติกส์ในระบบทางเดินอาหารสามารถทนต่อกรดและด่างในระบบการย่อยอาหารได้ โดยกระบวนการทำงานของโพรไบโอติกส์จะช่วยสร้างความสมดุลให้กับระบบการทำงานของอวัยวะในระบบทางเดินอาหารกลับมาทำงานได้ตามปกติอีกครั้ง ด้วยการสร้างเกราะป้องกันเยื่อบุลำไส้เพื่อป้องกันจุลินทรีย์ชนิดไม่ดีที่จะจับตัวที่ผิวเยื่อบุลำไส้ รวมทั้งผลิตสารต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ดังกล่าว และยังช่วยกระตุ้นกระบวนการย่อยอาหาร และกระตุ้นการขับถ่ายให้เป็นปกติ จึงเป็นหน้าที่สำคัญของเราที่จะต้องช่วยดูแลให้โพรไบโอติกส์ที่อยู่ในร่างกายเราอยู่ในสภาพที่สมดุล
การเติมโพรไบโอติกส์ให้กับร่างกาย
การเติมโพรไบโอติกส์ให้กับร่างกายจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยฟื้นฟูและปรับสภาพจุลินทรีย์และแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในระบบทางเดินอาหารให้กลับมาทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งเราสามารถเติมโพรไบโอติกส์แบบง่าย ๆ ด้วยการรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งรวมโพรไบโอติกส์ เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว ผักดอง กิมจิ มิโซะ เทมเป้ และชาหมักคอมบูชะ และกินอาหารที่มีพรีไบโอติกส์ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของโพรไบโอติกา์อีกที เช่น ผัก และผลไม้ที่มีใยอาหารมาก ขนมปังโฮลวีท และธัญพืช เป็นต้น ร่วมกับการดูแลสุขภาพในด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายเป็นประจำ การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ผ่อนคลายความเครียด และลดการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่จำเป็น เพราะการใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไป จะเข้าไปทำลายจุลินทรีย์ทั้งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์จนเสียสมดุล เพียงเท่านี้สุขภาพลำไส้ของเราก็จะมีสุขภาพดีแล้วค่ะ
สุขภาพดีเริ่มต้นที่ทางเดินอาหารนะคะ
Berlin GI Life