3 สิ่งที่คนท้องผูกไม่รู้ไม่ได้ กับยาระบายชนิดเพิ่มปริมาณอุจจาระ - featured image

3 สิ่งที่คนท้องผูกไม่รู้ไม่ได้ กับยาระบายชนิดเพิ่มปริมาณอุจจาระ

ยาระบายชนิดเพิ่มปริมาณอุจจาระ” ได้ยินชื่อแล้วมันชวนให้สงสัยไหมคะว่าทำไมต้องเพิ่มปริมาณอุจจาระด้วย แค่อาหารที่ทานเข้าไปมากมายทุกวันนี้ จะถ่ายเองแบบปกติยังยากเล้ยย นี่เพิ่มอุจจาระเข้าไปอีกไม่ยิ่งแย่เหรอ

ใครได้ยินชื่อแล้วสงสัยอย่างนี้ หายสงสัยได้เลยค่ะ เพราะบทความนี้ Berlin GI Life จะมาไขความกระจ่างให้สว่างยิ่งกว่าการไขคดีของโคนันคุงเสียอีกค่ะ

infographic 3 สิ่งที่คนท้องผูกไม่รู้ไม่ได้ กับยาระบายชนิดเพิ่มปริมาณอุจจาระ

มารู้จักยาระบายชนิดต่าง ๆ กันหน่อย

ในปัจจุบันที่เราต้องใช้ชีวิตแบบเร่งรีบ ปัญหาท้องผูกคงเป็นปัญหาเกี่ยวสุขภาพอันดับต้น ๆ ที่เราต้องพบเจอ ดังนั้นยาระบายเพื่อช่วยปลดทุกข์ ช่วยให้ถ่ายง่ายจึงเป็นอะไรที่มีมากมายในท้องตลาด ซึ่งแต่ละชนิดก็มีสรรพคุณที่แตกต่างกัน

หลายคนก็คงจะสับสนว่า แล้วอาการท้องผูกแบบเราเป็นอยู่ จะใช้ยาระบายประเภทไหนกันดี? เราขอแนะนำก่อนว่า อาการท้องผูกไม่ว่าเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม การรักษาเบื้องต้นด้วยการปรับพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกายเป็นเรื่องแรกที่ต้องทำค่ะ

แต่หากทำแล้วไม่ได้ผล หนทางต่อมาก็เป็นหน้าที่ของ ยาระบาย (laxatives) แล้วล่ะค่ะ ซึ่งยาระบายสามารถแบ่งเป็นกลุ่มต่าง ๆ ตามการออกฤทธิ์ ได้แก่

ยาระบายชนิดเพิ่มปริมาณอุจจาระ (bulk-forming laxatives)

เป็นยาระบายชนิดที่เพิ่มไฟเบอร์หรือใยอาหารให้กับลำไส้ใหญ่ ทำให้ลำไส้ใหญ่ขยาย ส่งผลกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวและเกิดการขับถ่าย ยาระบายประเภทนี้มีความปลอดภัยสูง หากใช้ถูกวิธี

ยาระบายชนิดเพิ่มน้ำในลำไส้ (osmotic laxatives)

ยาในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ดึงน้ำไว้ในช่องลำไส้ใหญ่โดยวิธีออสโมซิส (osmosis) ช่วยให้อุจจาระนุ่มและผ่านสำไส้ใหญ่ได้ดีขึ้น แต่การใช้ยาระบายบางตัวในกลุ่มนี้เป็นเวลานานจะเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร และการเสียสมดุลของระบบขับถ่ายได้

ยาระบายชนิดกระตุ้นการทำงานของลำไส้ (stimulant laxatives)

ยาระบายในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์กระตุ้นให้ลำไส้บีบตัว เพิ่มการหลั่งของเหลวสู่ภายในลำไส้ ลดการดูดซึมน้ำที่ลำไส้ใหญ่ และเร่งการบีบไล่กากอาหาร ยาในกลุ่มนี้มีฤทธิ์แรงและออกฤทธิ์ได้เร็ว แต่ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นเวลานาน เนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดลำไส้ขี้เกียจ ต้องพึ่งยาระบายเท่านั้น จนต้องเพิ่มปริมาณยาขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้เกิดการขับถ่าย

ยาระบายชนิดทำให้อุจจาระนุ่ม (stool softeners)

ยาในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ดึงน้ำเข้ามาในก้อนอุจจาระโดยลดแรงตึงผิวอุจจาระ (detergent-like action) ทำให้อุจจาระเหลวและขับถ่ายง่าย ใช้ได้ผลลัพธ์ที่ดีในกรณีที่อุจจาระเป็นก้อนแข็ง แต่ก็มีข้อมูลการศึกษาด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาในระยะยาวมีน้อยค่ะ

3 สิ่งที่คนท้องผูกไม่รู้ไม่ได้ กับยาระบายชนิดเพิ่มปริมาณอุจจาระ

  1. เป็นยาระบายในกลุ่มแรก ๆ ที่แพทย์จะแนะนำให้ผู้ที่มีปัญหาท้องผูกใช้ ควบคู่กับการปรับพฤติกรรมการบริโภคค่ะ เนื่องจากเป็นยาระบายที่มีความปลอดภัยสูง สามารถใช้ได้เป็นเวลานานโดยไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย เพราะมีกลไกการทำงานที่เลียนแบบการขับถ่ายตามธรรมชาติของร่างกาย
  2. เป็นยาระบายประเภทไฟเบอร์ หรือคาร์โบไฮเดรตโพลีเมอร์ชนิดย่อยยาก จึงไม่ถูกดูดซึมจากทางเดินอาหาร มีทั้งไฟเบอร์ชนิดไม่ละลาย (insoluble fiber) และชนิดที่ละลายได้ (soluble fiber) ยาระบายเหล่านี้ออกฤทธิ์เพิ่มปริมาณอุจจาระโดยอุ้มน้ำพองตัวไว้ในลำไส้ใหญ่ ทำให้ลำไส้ใหญ่ขยาย ส่งผลกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวและเกิดการขับถ่ายค่ะ
  3. การใช้ยาระบายชนิดเพิ่มปริมาณอุจจาระ เป็นการปรับสมดุลการทำงานของลำไส้และระบบเผาผลาญให้เป็นปกติ หากทานควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคและออกกำลังกาย โอกาสที่คุณจะหยุดทานยาระบาย เพื่อกลับมาขับถ่ายได้เองตามปกติจะมีสูงค่ะ

สรุป

จากข้อมูลคุณจะเห็นได้ว่า ยาระบายชนิดเพิ่มปริมาณอุจจาระเป็นยาระบายที่มีความปลอดภัยสูง ทานแล้วไม่มีผลกระทบหรือผลข้างเคียงถ้าใช้อย่างถูกวิธี

ไซเลียม ฮัสก์ ก็เป็นยาระบายที่อยู่ในหมวดหมู่ยาระบายชนิดนี้ค่ะ ผลิตจากไฟเบอร์หรือใยอาหารธรรมชาติที่สกัดมาจากเยื่อหุ้มเมล็ดไซเลียม หรือที่เรียกกันว่า “เมล็ดเทียนเกล็ดหอย” ถือเป็นไฟเบอร์ธรรมชาติ ชนิดละลายน้ำได้ดี ช่วยให้อึง่ายถ่ายคล่อง เป็นพรีไบโอติค (อาหารให้กับจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้) และยังช่วยให้อิ่มนานอีกด้วย

ไซเลียม ฮัสก์ นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการดูแลสุขภาพระบบทางเดินอาหารที่ปลอดภัยสำหรับคนท้องผูก หรือผู้ที่ต้องการเติมไฟเบอร์ธรรมชาติให้กับร่างกายค่ะ

สุขภาพดีเริ่มต้นที่ทางเดินอาหารนะคะ

Berlin GI Life

ขอขอบคุณข้อมูลจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มา ณ ที่นี้ค่ะ

Related Articles

บทความที่คุณอาจสนใจ

ลำไส้สุขภาพดีแข็งแรง ด้วยประโยชน์ของไพรไบโอติกส์

ลำไส้สุขภาพดีแข็งแรง ด้วยประโยชน์ของโพรไบโอติกส์

โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร พบได้บ่อยกับทุกเพศทุกวัยในปัจจุบัน Berling GI Life จะพาไปทำความรู้จักกับประโยชน์ของโพรไบโอติกส์ที่มีต่อระบบทางเดินอาหารของเราค่ะ

อ่านต่อ »
นานแค่ไหนกว่าโพรไบโอติกส์ที่กินไปจะเห็นผล - featured image

นานแค่ไหนกว่าโพรไบโอติกส์ที่กินไปจะเห็นผล

จะรู้ได้อย่างไรว่าโพรไบโอติกส์ที่ทานไปนั้นได้ผลจริง ๆ แล้วจะใช้ระยะเวลานานแค่ไหนจึงจะทำให้โพรไบโอติกส์ที่ทานไปออกดอกออกผล มาไขข้อสงสัยในบทความนี้เลยค่ะ

อ่านต่อ »
รู้ได้อย่างไร ว่าร่างกายเราต้องการโพรไบโอติกส์ - featured image

รู้ได้อย่างไร ว่าร่างกายเราต้องการโพรไบโอติกส์ ?

วิธีสังเกตอาการผิดปกติ หรืออาการเจ็บป่วยในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเราซึ่งจะปรากฏภายหลังจากโพรไบโอติกส์ลดจำนวนลง ซึ่งมีดังในบทความนี้ค่ะ

อ่านต่อ »