5 อาหารที่ทำให้ท้องผูก กินเยอะย่อยยาก

5 อาหารที่ทำให้ท้องผูก กินเยอะย่อยยาก อร่อยปากลำบากท้อง

ท้องผูก เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งปกติแล้วเราจะมีการขับถ่าย 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่รู้สึกว่าการขับถ่ายเป็นเรื่องยาก หรือมีการขับถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์อาจทำให้เกิดปัญหาท้องผูกได้ โดยเฉพาะกลุ่มคนผู้สูงอายุจะประสบปัญหาท้องผูก และอาการข้างเคียงมากถึง 27 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อมีอายุมากขึ้นการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงยิ่งส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกมากขึ้นอีกด้วยค่ะ

อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดอาการท้องผูกคนส่วนใหญ่จะเลือกที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเลือกทานยาระบาย หรือรับประทานอาหารที่ช่วยบรรเทา และลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการท้องผูก แต่ก็มีอาหารบางชนิดที่ส่งผลให้อาการท้องผูกแย่ลง บทความนี้ Berlin GI Life มีข้อมูลดี ๆ มาแนะนำเพื่อให้ระวังอาหารที่ทำให้ท้องผูกมาฝากกันค่ะ

Infographic 5 อาหารที่ทำให้ท้องผูก

5 อาหารที่ทำให้ท้องผูก

แอลกอฮอล์

เริ่มต้นด้วย “แอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์” เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสี่ยงอาการท้องผูก ซึ่งถ้าหากร่างกายมีแอลกอฮอล์เข้าไปในปริมาณมากจะไปกระตุ้นให้ร่างกายขับน้ำโดยปัสสาวะ เมื่อปัสสาวะมากขึ้นก็จะทำให้ร่างกายมีภาวะขาดน้ำ ถ้าร่างกายดื่มน้ำไม่เพียงพอ หรือสูญเสียน้ำจากการปัสสาวะที่บ่อยเกินไปจะทำให้เกิดอาการท้องผูกตามมาได้ในที่สุด

ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ หรือดื่มในปริมาณที่น้อยลง และดื่มน้ำเปล่าในปริมาณที่มากพอเพื่อชดเชยกับปริมาณน้ำที่ร่างกายได้ขับออกไปนั่นเองค่ะ

นม และผลิตภัณฑ์จากนมวัว

นม และผลิตภัณฑ์จากนมวัว เป็นอีกหนึ่งอาหารที่ทำให้ท้องผูก ซึ่งอาจจะเกิดไม่ทุกคน แต่มีผลกระทบต่อผู้ที่แพ้ หรือมีความไวต่อโปรตีนในนมวัว ทำให้เกิดอาการท้องอืด เกิดกรดแก๊สในกระเพาะอาหาร ส่งผลให้มีการขับถ่ายที่ลำบากจนเกิดอาการท้องผูกนั่นเอง

ดังนั้นถ้ารู้ตัวว่ามีอาการแพ้โปรตีนจากนมวัว ควรหยุดบริโภคนม และผลิตภัณฑ์จากนมวัว และเปลี่ยนมาบริโภคนมถั่วเหลืองแทนก็จะช่วงลดอาการ และความเสี่ยงจากการเกิดท้องผูกได้ค่ะ

ของทอด หรืออาหารจานด่วน

อาหารประเภทของทอด หรืออาหารจานด่วนเป็นอาหารที่ทำให้ท้องผูก ซึ่งหากรับประทานในปริมาณมาก หรือบ่อยเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดอาการท้องผูกตามมาค่ะ

เนื่องจากอาหารพวกนี้มีปริมาณไขมัน เกลือ และคอเรสตอรอลที่สูงมาก แต่มีปริมาณไฟเบอร์ที่ต่ำ ทำให้กระเพาะอาหารทำงานหนัก ใช้เวลาในการย่อยอาหารที่ยาวนานมากขึ้น นอกจากนี้ปริมาณเกลือที่สูงในของทอด และอาหารจานด่วน ส่งผลให้เกิดการขับน้ำออกจากอุจจาระ ทำให้อุจจาระแข็งเกิดการขับถ่ายที่ยากลำบากจนเกิดอาการท้องผูกนั่นเองค่ะ

เนื้อแดง

เนื้อแดง ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อแกะ ล้วนแต่เป็นเนื้อสัตว์ไขมันสูงที่อุดมไปด้วยโปรตีน เมื่อเรารับประทานเนื้อสัตว์แต่เพียงอย่างเดียวจะส่งผลกระทบต่อระบบการย่อยของร่างกาย เกิดภาวะย่อยยาก ต้องใช้เวลานานกว่าจะย่อยหมด ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอาการท้องผูกได้

ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงอาการท้องผูก คุณควรเพิ่มผัก และผลไม้ในมื้ออาหารเพื่อช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้นค่ะ

ธัญพืชแปรรูปต่าง ๆ

ธัญพืชแปรรูป และผลิตภัณฑ์จากธัญพืช เป็นอีกหนึ่งอาหารที่ทำให้ท้องผูก ซึ่งขนมปังขาว ข้าวขาว และเส้นพาสต้าสีขาว ล้วนแต่เป็นธัญพืชที่ผ่านการขัดสี และแปรรูปแล้วทั้งนั้น ทำให้ปริมาณไฟเบอร์ในอาหารเหล่านี้มีน้อยลง ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงอาการท้องผูกได้

ดังนั้นผู้ที่มีอาการท้องผูกควรหลีกเลี่ยงอาหารธัญพืชแปรรูปเหล่านี้ แล้วหันมารับประทานธัญพืชที่ไม่ขัดสีแทน เพื่อเพิ่มไฟเบอร์ให้กับร่างกาย กระตุ้นให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้นค่ะ

สรุป

อาการท้องผูก ยังคงเป็นปัญหาที่กวนใจใครต่อใครมากมาย แต่ถ้าหลีกเลี่ยง ลดปริมาณ หรือทานอาหารที่ทำให้ท้องผูกที่กล่าวมาข้างต้นแต่พอดี ก็จะสามารถบรรเทา หรือลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการท้องผูกได้

เพื่อสุขภาพที่ดีและห่างไกลจากอาการท้องผูก คุณควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเมื่อมีอาการ ทั้งนี้เพื่อให้ร่างกายได้สมดุล ลดปัญหาอาการท้องผูกที่กวนใจได้นั่นเองค่ะ

สุขภาพดีเริ่มต้นที่ทางเดินอาหารนะคะ

Berlin GI Life

ขอขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Related Articles

บทความที่คุณอาจสนใจ

ลำไส้สุขภาพดีแข็งแรง ด้วยประโยชน์ของไพรไบโอติกส์

ลำไส้สุขภาพดีแข็งแรง ด้วยประโยชน์ของโพรไบโอติกส์

โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร พบได้บ่อยกับทุกเพศทุกวัยในปัจจุบัน Berling GI Life จะพาไปทำความรู้จักกับประโยชน์ของโพรไบโอติกส์ที่มีต่อระบบทางเดินอาหารของเราค่ะ

อ่านต่อ »
นานแค่ไหนกว่าโพรไบโอติกส์ที่กินไปจะเห็นผล - featured image

นานแค่ไหนกว่าโพรไบโอติกส์ที่กินไปจะเห็นผล

จะรู้ได้อย่างไรว่าโพรไบโอติกส์ที่ทานไปนั้นได้ผลจริง ๆ แล้วจะใช้ระยะเวลานานแค่ไหนจึงจะทำให้โพรไบโอติกส์ที่ทานไปออกดอกออกผล มาไขข้อสงสัยในบทความนี้เลยค่ะ

อ่านต่อ »
รู้ได้อย่างไร ว่าร่างกายเราต้องการโพรไบโอติกส์ - featured image

รู้ได้อย่างไร ว่าร่างกายเราต้องการโพรไบโอติกส์ ?

วิธีสังเกตอาการผิดปกติ หรืออาการเจ็บป่วยในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเราซึ่งจะปรากฏภายหลังจากโพรไบโอติกส์ลดจำนวนลง ซึ่งมีดังในบทความนี้ค่ะ

อ่านต่อ »