อาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์เป็นหนึ่งในอาการที่พบได้บ่อยในคุณแม่ตั้งครรภ์ ทั้งในช่วงตั้งครรภ์แรก ๆ และจะเป็นหนักขึ้นเรื่อย ๆ เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น จนทำให้รู้สึกไม่สบายตัวมากกว่าเดิม แม้ว่าคุณแม่หลายท่านจะมองว่าอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์นั้นเป็นอาการทั่วไป ที่เป็นไม่นานก็น่าจะหายไปและกลับมาขับถ่ายได้ปกติอีกครั้ง
แต่สำหรับคุณแม่ท่านไหนที่ยังคงเผชิญกับอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์อยู่บ่อยครั้งนั้น บทความนี้เราก็ได้หยิบเอา 6 เคล็ดลับในการบรรเทาอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์มาฝาก พร้อมทั้งได้ทำความเข้าใจกับสาเหตุของอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์ และไขข้อสงสัยว่าจริง ๆ แล้วอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์เป็นอันตรายกับลูกน้อยในครรภ์หรือไม่กันค่ะ
ทำไมถึงมีอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์?
อาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกันดังนี้ค่ะ
- การเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรนที่มีคุณสมบัติช่วยลดการหดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก ซึ่งสามารถส่งผลต่อการหดตัวของลำไส้ หรือระบบทางเดินอาหารหย่อนตัวลงด้วยเช่นกัน ทำให้ลำไส้ลำเลียงอาหารและของเสียได้ช้าลงจนเกิดอาการท้องผูก ถ่ายลำบากมากขึ้น
- การขยายใหญ่ของมดลูกจนเบียดและรบกวนการทำงานของลำไส้และช่วงปลายของทวารหนัก ทำให้อุจจาระไม่สามารถเคลื่อนตัวได้ตามปกติ และเกิดอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์ในที่สุด
- การรับประทานอาหารมากเกินปกติ บวกกับรับประทานอาหารที่มีกากใยอาหารต่ำ ดื่มน้ำน้อย จนทำให้ร่างกายไม่สามารถย่อยและขับของเสียได้ทัน จนคั่งค้างกลายเป็นก้อนอุจจาระแข็งตัวในลำไส้และยากต่อการขับถ่ายกว่าเดิ
- ด้วยขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้น ทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้ลำบากมากขึ้น เมื่อไหร่ที่ร่างกายไม่ค่อยได้ขยับ ลำไส้ก็มีการบีบตัว หรือเคลื่อนไหวน้อยตามไปด้วย ทำให้ของเสียที่คั่งค้างภายในลำไส้ไม่ถูกขับถ่ายออกมาได้ตามปกติ
- การรับประทานยา หรือวิตามินตามแพทย์สั่ง เช่น ธาตุเหล็ก นั้นมีส่วนทำให้คุณแม่เกิดอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์ด้วยเช่นกัน
ท้องผูกขณะตั้งครรภ์อันตรายหรือไม่?
อาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์เป็นอาการทั่วไปที่ไม่ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ เพียงแต่จะทำให้คุณแม่รู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว และรู้สึกหงุดหงิดใจได้ค่ะ ขณะเดียวกันเมื่อมีอาการท้องผูกก็อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดท้อง หน่วงท้อง ท้องอืด มีลมดันแน่นในช่องท้อง มีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย อุจจาระที่ถ่ายออกมามีมูกเลือดปน เป็นต้น ซึ่งถ้ามีอาการดังกล่าวรุนแรงขึ้น เราขอแนะนำให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วนที่สุดเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไปค่ะ
หากมีอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์ต่อเนื่องยาวนาน ขาดการขับถ่ายของเสีย ก็สามารถนำไปสู่อาการที่ไม่พึงประสงค์ได้อีกด้วย เช่น มีกลิ่นปาก ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น และอาจรู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าปกติ เนื่องจากภายในร่างกายมีการสะสมของเสีย หรือสารพิษมากเกินไปค่ะ

6 เคล็ดไม่ลับที่คุณแม่ต้องรู้ ช่วยบรรเทาอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์
เลือกรับประทานอาหารที่กากใยอาหารสูง
การรับประทานอาหารที่มีกากใยอาหารหรือไฟเบอร์สูง สามารถช่วยบรรเทาอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์ได้ เนื่องจากสามารถทำให้อุจจาระนิ่มสามารถเคลื่อนตัวและถูกขับออกได้ง่ายมากยิ่งขึ้นค่ะ โดยแหล่งอาหารที่มีกากใยอาหารสูงนั้นมักเป็นพวกผัก ผลไม้ ธัญพืช รวมไปถึงอาหารเสริมไฟเบอร์ในรูปแบบต่าง ๆ และควรให้ร่างกายได้รับกากใยอาหารปริมาณ 25-30 กรัมต่อวัน เพื่อเป็นการป้องกันอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์
นอกจากจะเลือกรับประทานอาหารที่มีกากใยอาหารสูงเพื่อบรรเทาอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์แล้ว เราขอแนะนำว่าให้คุณแม่หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารจำพวกอาหารแปรรูป อาหารแห้ง ขนมกรุบกรอบด้วยนะคะ เพราะอาหารเหล่านี้มีโอกาสเสี่ยงทำให้เกิดอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์นั่นเองค่ะ
ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน
มากไปกว่าการเลือกรับประทานอาหารที่มีกากใยอาหารสูงเพื่อบรรเทาอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์แล้ว คุณแม่ทั้งหลายควรปรับพฤติกรรมในการดื่มน้ำในแต่ละวันให้เพียงพอ หรือมากขึ้นกว่าเดิมร่วมด้วยนะคะ เนื่องจากการดื่มน้ำให้เพียงพอจะช่วยให้อุจจาระนิ่มสามารถเบ่งออกได้ง่าย ช่วยบรรเทาอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์ รวมถึงป้องกันอาการร่างกายขาดน้ำได้เป็นอย่างดี โดยการดื่มน้ำที่เราแนะนำนั้นควรเป็นน้ำเปล่า หรือเป็นน้ำผลไม้คั้นสดเท่านั้น หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มจำพวกชา กาแฟ เครื่องที่มีคาเฟอีนสูง และน้ำอัดลม เพราะอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำและเสี่ยงต่ออาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์ได้มากกว่าเดิมค่ะ
เพิ่มปริมาณโพรไบโอติกส์ให้ร่างกาย
หากคุณเป็นคุณแม่ที่ไม่ปลื้มกับการรับประทานอาหารจำพวกผัก ผลไม้ หรือธัญพืชสักเท่าไหร่ อีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยบรรเทาอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์ของคุณได้ดีก็คือการเลือกรับประทานอาหารที่มีปริมาณโพรไบโอติกส์ (Probiotics) สูงแทนนั่นเองค่ะ ซึ่งโพรไบโอติกส์นั้นเป็นจุลินทรีย์ชนิดดีที่มีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายเป็นอย่างมาก รวมไปถึงอาหารเสริมโพรไบโอติกส์
พยายามเคลื่อนไหวร่างกาย หรือออกกำลังกายอยู่ตลอด
แม้ว่าขณะตั้งครรภ์คุณแม่ทั้งหลายจะมีขนาดตัวที่ขยายใหญ่จนยากที่จะขยับเขยื้อนร่างกาย หรือออกกำลังกายอย่างที่เคยทำมาก่อน แต่เพื่อเป็นการกระตุ้นการทำงานของลำไส้ และบรรเทาอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์ที่กำลังเผชิญอยู่ เราขอแนะนำให้พยายามเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ เช่น การเดินเยอะ ๆ หรือออกกำลังกายเบา ๆ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์อย่างพวกการว่ายน้ำ เล่นโยคะ หรือสามารถออกกำลังกายได้ตามคำแนะนำของแพทย์ และควรอยู่ภายใต้การดูแลของเทรนเนอร์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกายร่วมด้วย เพื่อความปลอดภัยต่อลูกน้อยในครรภ์ค่ะ
ปรับพฤติกรรมการขับถ่ายอุจจาระ
เพื่อให้การขับถ่ายอุจจาระเป็นไปได้ราบรื่นมากยิ่งขึ้น การปรับพฤติกรรมการขับถ่ายอุจจาระก็สามารถช่วยป้องกันอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์ได้ค่ะ เช่น ไม่ควรอั้นเมื่อรู้สึกปวดท้องถ่ายหนัก พยายามขับถ่ายให้เป็นเวลา หลีกเลี่ยงการเบ่งแรง ๆ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาริดสีดวงทวารหนัก รวมไปถึงปรับเปลี่ยนท่านั่งอุจจาระ อาจจะเปลี่ยนจากนั่งชักโครกเป็นนั่งยอง ๆ คอห่าน หรือขณะนั่งชักโครกควรนั่งในขณะที่จิกปลายเท้ากับพื้น พยายามยกเข่าให้สูงขึ้น หรือนั่งในท่าที่โน้มตัวไปด้านหน้าพร้อมมีเก้าอี้ตัวเล็ก หรือเก้าอี้ซักผ้ารองบริเวณเท้าก็ได้เช่นกันค่ะ
ทานยาตามคำสั่ง หรือคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
เมื่อลองปฏิบัติตัวตามเคล็ดลับบรรเทาอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์ที่เราแนะนำไปข้างต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ทางออกสุดท้ายก็คือการเลือกรับประทานยาตามคำสั่ง หรือคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือเภสัชกรนั่นเองค่ะ ซึ่งส่วนใหญ่แพทย์จะจ่ายยาที่มีคุณสมบัติทำให้อุจจาระนิ่ม ให้คุณแม่สามารถขับถ่ายอุจจาระได้ง่ายมากยิ่งขึ้น หรือแม้แต่ยาระบายในรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถป้องกันอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สรุป
ขณะตั้งครรภ์คุณแม่ทั้งหลายควรหมั่นสำรวจการขับถ่ายของตนอยู่ตลอด ว่ามีการขับถ่ายที่สม่ำเสมอหรือไม่ โดยใน 1 สัปดาห์ควรมีการขับถ่ายมากกว่า 3 ครั้ง เพื่อเป็นการขับของเสีย ป้องกันปัญหาอุจจาระสะสมตัวจนเป็นก้อนแข็งและเป็นสาเหตุของอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์ในที่สุดนะคะ ถ้าเมื่อไหร่มีอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์ก็สามารถนำ 6 เคล็ดลับบรรเทาอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์ที่เรานำมาฝากในบทความนี้ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับตัวเองกันนะคะ
แต่ถ้าคุณแม่ท่านไหนมีอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์ที่รุนแรง หรือปฏิบัติตามเคล็ดลับข้างต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้นแม้แต่น้อย เช่น มีอาการปวดท้องรุนแรง ถ่ายออกมาแล้วมีมูกเลือดปน มีอาการเจ็บปวดบริเวณทวารหนัก หรือมีริดสีดวงทวารหนัก เราขอแนะนำให้รีบพบแพทย์โดยด่วนที่สุดเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพที่อาจส่งผลร้ายแรงต่อร่างกายของคุณแม่และสุขภาพของลูกน้อยในครรภ์ค่ะ
สุขภาพดีเริ่มต้นที่ทางเดินอาหารนะคะ
Berlin GI Life