รู้จักกับโพรไบโอติกส์ ฮีโร่ของจุดเริ่มต้นสุขภาพที่ดี

รู้จักกับโพรไบโอติกส์ (Probiotics) ฮีโร่ของจุดเริ่มต้นสุขภาพที่ดี

“โพรไบโอติกส์” (Probiotics) เชื่อว่าคำ ๆ นี้คุณคงเคยผ่านหูผ่านตากันมาบ้างนะคะ บางคนอาจจะพอรู้และเข้าใจว่าโพรไบโอติกส์คืออะไร มันเข้าไปทำอะไรหรือให้ประโยชน์อะไรกับร่างกายเราบ้าง หรือแม้กระทั่งช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ ได้อย่างไร

บทความนี้ Berlin GI Life จะมาแชร์เกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ให้คุณเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของโพรไบโอติกส์กันมากขึ้นค่ะ

โพรไบโอติกส์คืออะไร?

โพรไบโอติกส์ (Probiotics) คือเชื้อจุลินทรีย์ที่พบตามธรรมชาติในร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้ไม่ทำให้เกิดโรค และยังคงมีชีวิตอยู่เมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกาย เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพเมื่อได้รับในปริมาณที่เหมาะสมนะคะ

เชื้อจุลินทรีย์ที่จัดเป็นโพรไบโอติกส์ส่วนใหญ่เป็นเชื้อแบคทีเรียในจีนัสแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) และบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) ที่พบในผลิตภัณฑ์จากนม และอาหารที่ผ่านกระบวนการหมักหรือบ่มก่อนรับประทาน เช่น โยเกิร์ต ชีสต์ ไส้กรอก น้ำปลา ปลาร้า เต้าเจี้ยว มิโซะ กิมจิ และอาหารหมักดองต่าง ๆ ซึ่งเป็นอาหารที่มนุษย์บริโภคต่อเนื่องมาเป็นเวลานานแล้ว นอกจากนี้ยังมีการจัดให้เชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา (ยีสต์) บางชนิด เป็นโพรไบโอติกส์ด้วยค่ะ

ในสภาวะปกติ โพรไบโอติกส์ที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายจะสามารถอยู่รอดได้เป็นเวลาไม่นาน การได้รับโพรไบโอติกส์ในขนาดเพียงพออย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้หากได้รับ พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของโพรไบโอติกส์ร่วมด้วย อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของโพรไบโอติกส์ได้อีกทางหนึ่งค่ะ

พรีไบโอติกส์ ที่เป็นที่นิยมใช้แพร่หลาย คือกากใยอาหารในผักและผลไม้บางชนิด ซึ่งมีสารกลุ่ม oligosaccharides ที่ช่วยส่งเสริมการเจริญและอยู่รอดของโพรไบโอติกส์

ทำไมโพรไบโอติกส์ถึงสำคัญต่อร่างกายของเรา

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในวงการแพทย์และนักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่า การรับประทานโพรไบโอติกส์เป็นประจำ คือวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยส่งเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงจากภายในได้ โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร ช่วยลดปัญหาท้องผูก ท้องเสีย อาหารไม่ย่อย และส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยลดความรุนแรงของโรคเรื้อรังบางชนิด

ประโยชน์ของโพรไบโอติกส์

  • ช่วยบรรเทา และแก้ปัญหาท้องผูก และรักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
  • ป้องกัน และบรรเทาอาการท้องเสีย
  • เพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายและรักษาโรคภูมิแพ้
  • ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ช่วยส่งเสริมการรักษาโรคกระเพาะ

การที่จะทำให้โพรไบโอติกส์ยังคงทำงานในร่างกายของเราตามปกติ จำเป็นต้องทำให้ร่างกายมีเชื้อจุลินทรีย์ชนิดนี้อยู่ในประมาณที่เหมาะสม และเพียงพอจะสามารถช่วยกระตุ้นให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารและระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างสมดุล แล้วอะไรที่ทำให้โพรไบโอติกส์ในร่างกายของเราลดลงบ้าง มาดูกันค่ะว่าคุณเผลอทำส่ิงเหล่านี้บ้างหรือเปล่า

ปัจจัยที่ทำให้โพรไบโอติกส์ในร่างกายลดลง

  • การทานน้ำตาลและของหวานเป็นประจำ
  • การทานแป้งขัดสี
  • การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • การใช้ยาปฏิชีวนะ
  • ความเครียด
  • การสูบบุหรี่เป็นประจำ
  • พักผ่อนนอนหลับไม่เพียงพอ
  • ไม่ชอบออกกำลังกาย
  • อายุที่มากขึ้น

ทีนี้พอรู้ถึงปัจจัยที่ทำให้โพรไบโอติกส์ลดลงแล้ว เรามาเพิ่มโพรไบโอติกส์ให้ร่างกายกันเถอะค่ะ ซึ่งการเพิ่มโพรไบโอติกส์ เราสามารถเพิ่มได้ทั้งจากอาหาร หรืออาหารเสริมที่ช่วยเสริมจุลินทรีย์ชนิดดีและรักษาสมดุลให้กับจุลินทรีย์ในร่างกายได้

ซึ่งในบทความนี้เราไม่ได้กล่าวถึงอาหารที่เพิ่มโพรไบโอติกส์ในร่างกายนะคะ แต่จะเน้นไปที่อาหารเสริมมากกว่าค่ะ

ประสิทธิภาพของอาหารเสริมโพรไบโอติกส์ที่ดี ต้องดูจากอะไรบ้าง?

ปริมาณของเชื้อจุลินทรีย์

ประโยชน์ของโพรไบโอติกส์ที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายมีแนวโน้มแปรผันตามปริมาณที่ได้รับ หากปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ที่ได้รับไม่เพียงพอ อาจไม่เกิดประโยชน์ที่คาดหวังไว้ได้ และทำให้สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ

โดยทั่วไปแล้ว เราขอแนะนำให้ได้รับโพรไบโอติกส์ในขนาดไม่ต่ำกว่าวันละ 5 x 109 CFU เนื่องจากหากมีปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ปริมาณน้อยกว่านี้ อาจเหลือจำนวนในลำไส้ไม่เพียงพอหลังจากผ่านความเป็นกรดอย่างรุนแรงในกระเพาะอาหาร

นอกจากนี้เพื่อเป็นการรักษาระดับจุลินทรีย์มีประโยชน์ให้คงอยู่ในร่างกายอย่างเพียงพอ จึงควรรับประทานโพรไบโอติกส์อย่างต่อเนื่องทุกวันค่ะ

เทคโนโลยีการผลิต และรูปแบบทางเภสัชภัณฑ์

เนื่องจากประสิทธิภาพของโพรไบโอติกส์ ได้รับอิทธิพลจากปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิต ที่เดินทางไปถึงตำแหน่งเป้าหมายคือทางเดินอาหารส่วนล่าง

การศึกษาเพื่อทดสอบการรอดชีวิต (viability) ของเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์ที่มีจำหน่ายในแพร่หลายในประเทศแคนาดาจำนวน 10 ผลิตภัณฑ์ โดยทดสอบจำลองสภาวะความเป็นกรดที่ pH 1.2 ของกระเพาะอาหาร พบว่า

  • ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่มีรูปแบบทางเภสัชภัณฑ์แบบผง แบบเม็ด หรือแคปซูลธรรมดา ไม่มีเชื้อจุลินทรีย์ที่รอดชีวิตหลังจากผ่านความเป็นกรดที่ pH 1.2 ของกระเพาะอาหาร
  • ผลิตภัณฑ์ที่ยังคงมีจุลินทรีย์ที่รอดชีวิตในปริมาณเพียงพอที่จะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพได้ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีรูปแบบพิเศษ ที่ช่วยปกป้องเชื้อจุลินทรีย์จากการถูกทำลายด้วยกรดได้ เช่น enteric-coated granule หรือการเตรียมในรูป microencapsulation ที่มีการห่อหุ้มโพรไบโอติกส์ ไว้ด้วยชั้นของโพลีเมอร์ที่ทนต่อความเป็นกรดในกระเพาะอาหารได้

ดังนั้นผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์ที่ดีจึงควรมีเทคโนโลยีการผลิตที่ช่วยปกป้องเชื้อจุลินทรีย์ไม่ให้ถูกทำลายโดยสิ่งแวดล้อม รวมถึงความเป็นกรด และเอนไซม์ต่าง ๆ ในทางเดินอาหาร โดยมีรูปแบบเป็น enteric-coated preparation หรือ microencapsulation

การเก็บรักษา

โพรไบโอติกส์เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิต เงื่อนไขการเก็บรักษาจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของโพรไบโอติกส์ ได้

ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์แต่ละชนิดมีกระบวนการผลิตที่แตกต่างกัน ทำให้มีเงื่อนไขการเก็บรักษาที่แตกต่างกันตามไปด้วย โพรไบโอติกส์ในบางผลิตภัณฑ์จำเป็นต้องเก็บในตู้เย็นเท่านั้น ในขณะที่บางผลิตภัณฑ์สามารถเก็บในอุณหภูมิห้องได้ คุณควรศึกษาคำแนะนำที่ระบุบนฉลากผลิตภัณฑ์ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการเก็บในที่อุณหภูมิสูง และไม่ให้สัมผัสกับความชื้น หรือ แสงแดดโดยตรงเป็นเวลานานค่ะ

แนวทางการเลือกและการใช้อาหารเสริมโพรไบโอติกส์

1. กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนว่าปัญหาสุขภาพ หรือประโยชน์ที่ต้องการคืออย่างไร
2. เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีโพรไบโอติกส์ที่มีข้อมูลทางคลินิกสนับสนุนว่า มีประสิทธิภาพตรงกับเป้าหมายที่ต้องการ
3. เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณจุลินทรีย์เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 5 x 109 CFU
4. เลือกผลิตภัณฑ์ที่ปกป้องเชื้อจุลินทรีย์ไม่ให้ถูกทำลายโดยสิ่งแวดล้อม เช่น enteric-coated preparation หรือ microencapsulation
5. เลือกผลิตภัณฑ์ที่เชื่อถือได้ มีกระบวนการควบคุมคุณภาพที่ดี
6. เลือกผลิตภัณฑ์ที่สามารถเก็บในอุณหภูมิห้องได้โดยไม่ต้องเก็บในตู้เย็น เพื่อเพิ่มความสะดวก และลดโอกาสเกิดการเสื่อมสภาพจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
7. เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีราคาสมเหตุผล หากต้องรับประทานต่อเนื่องเป็นเวลานาน
8. เก็บรักษาผลิตภัณฑ์ให้ถูกต้องตามที่ผู้ผลิตระบุ หลีกเลี่ยงสภาวะที่จะทำให้จุลินทรีย์เสื่อมสภาพ

Biofit Pearl โพรไบโอติกส์ชนิดแคปซูล

พออ่านมาถึงตรงน้ีแล้ว เราคิดว่าคุณคงเข้าใจโพรไบโอติกส์ในภาพรวมมากขึ้นนะคะ ก่อนจบบทความนี้ Berlin GI Life ขอแนะนำ Biofit Pearl® ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ประกอบด้วยเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งจัดเป็นโพรไบโอติกส์ 3 ชนิด ได้แก่

  • Bifidobacterium longum BB536
  • Lactobacillus acidophilus NCFM
  • และ Lactobacillus gasseri

โพรไบโอติกส์เหล่านี้มีข้อมูลการศึกษาทางคลินิกบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพในข้อบ่งใช้ที่หลากหลาย โดยเฉพาะในอาการความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร การย่อยและดูดซึมสารอาหาร ความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการแพ้และภูมิคุ้มกัน การอักเสบ และโรคติดเชื้อบางชนิด เช่น การติดเชื้อ Helicobacter pylori ในกระเพาะอาหาร

ผลของ B. longum BB536 ต่อภาวะลำไส้แปรปรวน

การศึกษารูปแบบ crossover, randomized, double-blind, และ controlled trial ในผู้ป่วยลำไส้แปรปรวนจำนวน 25 คน พบว่า

  • อาการของภาวะลำไส้แปรปรวนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ภายหลังจากได้รับ probiotic ที่มี B. longum BB536 ร่วมกับ Lactobacillus เป็นเวลา 1 เดือน โดยอาการปวดเกร็งท้องลดลงร้อยละ 48.8 (ยาหลอกลดลงร้อยละ 3.5)
  • อาการท้องอืดแน่นท้องลดลงร้อยละ 36.35 (ยาหลอกมีอาการเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.35)
  • ความรุนแรงโดยรวมของภาวะลำไส้แปรปรวนลดลงร้อยละ 30.1 (ยาหลอกลดลงร้อยละ 0.4)
  • นอกจากนี้ยังพบว่า B. longum BB536 สามารถลดความรุนแรงของภาวะท้องผูกโดยเพิ่มความถี่ของการถ่าย และปรับปรุงลักษณะของอุจจาระให้อ่อนนิ่มขึ้น

ผลของ B. longum BB536 ต่ออาการหวัดและภูมิแพ้

การศึกษาทางคลินิกในประชากรชาวญี่ปุ่นพบว่ากลุ่มผู้ที่ได้รับ B. longum BB536 ต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 5 สัปดาห์ มีอัตราการป่วยเนื่องจากโรคหวัดและไข้หวัดใหญ่ “น้อยกว่า” กลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ โดยสันนิษฐานว่า เป็นผลจากการส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด macrophage และ natural killer cells4

การศึกษาโดย Lau AS และคณะในเด็กก่อนวัยเรียน อายุระหว่าง 2-6 ปี จำนวน 219 คน โดยสุ่มให้ได้รับ B. longum BB536 (5 x 109 CFU/ วัน) หรือยาหลอกเป็นเวลา 10 เดือน พบว่ากลุ่มที่ได้รับ B. longum BB536 มีระยะเวลาการเกิดอาการเจ็บคอลดลงร้อยละ 46 (ระยะเวลาเจ็บคอ รวม 2.69 และ 4.99 วัน ในกลุ่มที่ได้รับ B. longum BB536 และยาหลอกตามลำดับ)

นอกจากนี้ยังพบว่าอาการอื่น ๆ ของโรคติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบน (upper respiratory tract infections: URTIs) มีระยะเวลาสั้นลงในกลุ่มที่ได้รับ B. longum BB536 เช่นกัน โดย

  • ระยะเวลามีไข้ลดลงร้อยละ 27
  • ระยะเวลามีน้ำมูกลดลงร้อยละ 15
  • ระยะเวลาที่มีอาการไอลดลงร้อยละ 16

ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาในผู้ใหญ่ที่พบว่า B. longum BB536 เป็นโพรไบโอติกส์ที่มีประสิทธิภาพในการลดระยะเวลาป่วยด้วยโรคติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบน โดยช่วยให้หายเร็วขึ้นประมาณ 1-2 วัน

การศึกษาแบบ randomized controlled trial หลายการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับ B. longum BB536 มีอาการของโรคภูมิแพ้ เช่น เยื่อบุตาอักเสบ และโพรงจมูกอักเสบ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับ B. longum BB536 มีการอักเสบหลังผ่าตัด (post-operative inflammation) น้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบที่ไม่ได้มีการใช้โพรไบโอติกส์อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการลดลงของระดับสารสื่อการอักเสบบางชนิด เช่น IL-6 4

ประโยชน์ทางคลินิกที่กล่าวมาข้างต้นนี้ สามารถพบได้ในการศึกษาที่ใช้ L. acidophilus NCFM6, 7 และ L. gasseri10 ได้เช่นกัน การใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นส่วนผสมของโพรไบโอติกส์หลายชนิดพบว่า ช่วยส่งเสริมให้ประสิทธิภาพทางคลินิกเห็นผลได้ชัดเจนมากขึ้นกว่าการใช้โพรไบโอติกส์ที่มีเชื้อจุลินทรีย์เพียงชนิดเดียว

สรุป

และนี่คือเรื่องราวและข้อมูลบางส่วนของโพรไบโอติกส์นะคะ การจะมีสุขภาพดีแบบองค์รวมได้นั้น เราต้องดูแลทั้งภายนอกไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย งดการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ รวมถึงพฤติกรรมอื่นที่เป็นการบั่นทอนสุขภาพของเราเอง และดูแลภายในร่างกายของเราด้วยการทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ รวมถึงการรักษาสมดุลจุลินทรีย์ให้อยู่ในระดับปกติและมีอย่างเพียงพอที่จะต่อสู้กับศัตรูต่าง ๆ ในร่างกายค่ะ

สุขภาพดีเริ่มต้นที่ทางเดินอาหารนะคะ

Berlin GI Life

Related Articles

บทความที่คุณอาจสนใจ

ลำไส้สุขภาพดีแข็งแรง ด้วยประโยชน์ของไพรไบโอติกส์

ลำไส้สุขภาพดีแข็งแรง ด้วยประโยชน์ของโพรไบโอติกส์

โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร พบได้บ่อยกับทุกเพศทุกวัยในปัจจุบัน Berling GI Life จะพาไปทำความรู้จักกับประโยชน์ของโพรไบโอติกส์ที่มีต่อระบบทางเดินอาหารของเราค่ะ

อ่านต่อ »
นานแค่ไหนกว่าโพรไบโอติกส์ที่กินไปจะเห็นผล - featured image

นานแค่ไหนกว่าโพรไบโอติกส์ที่กินไปจะเห็นผล

จะรู้ได้อย่างไรว่าโพรไบโอติกส์ที่ทานไปนั้นได้ผลจริง ๆ แล้วจะใช้ระยะเวลานานแค่ไหนจึงจะทำให้โพรไบโอติกส์ที่ทานไปออกดอกออกผล มาไขข้อสงสัยในบทความนี้เลยค่ะ

อ่านต่อ »
รู้ได้อย่างไร ว่าร่างกายเราต้องการโพรไบโอติกส์ - featured image

รู้ได้อย่างไร ว่าร่างกายเราต้องการโพรไบโอติกส์ ?

วิธีสังเกตอาการผิดปกติ หรืออาการเจ็บป่วยในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเราซึ่งจะปรากฏภายหลังจากโพรไบโอติกส์ลดจำนวนลง ซึ่งมีดังในบทความนี้ค่ะ

อ่านต่อ »